วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด บทที่1-8

แบบฝึกหัด
บทที่ 1 (กิจกรรม1)                                                                         กลุ่มที่เรียน....1......
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                  รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ -สกุล....นางสาว  นิรันตรี  สวัสดิ์ผล .รหัส 56010710109
จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
1.ข้อมูลหมายถึง  ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ
2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง โดยไม่มีผู้ใดเคยเก็บมาก่อน  ยกตัวอย่างประกอบ วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ได้จากผู้ที่เก็บรวบรวมไว้แล้ว ยกตัวอย่างประกอบ  สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
4.สารสนเทศหมายถึง  เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ
  การแบ่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ  เช่น
               1. การแบ่งสารสนเทศตามหลักแห่งคุณภาพ  ได้แก่  สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
                2. การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด  ได้แก่  สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศ
ภายนอกองค์กร
                3. การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้  ได้แก่  สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์  สารสนเทศ
สาขาสังคมศาสตร์  สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และสารสนเทศสาขาอื่น ๆ
                4. การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน  ได้แก่  สารสนเทศด้านการตลาด  สารสนเทศ
ด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร  และสารสนเทศด้านการเงิน
                5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ  ได้แก่    สารสนเทศที่เน้นวิชาการ  สารสนเทศ
ที่เน้นเทคนิค  สารสนเทศที่เน้นบุคคล  และสารสนเทศที่เน้นการปฏิบัติ
                6. การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ  ได้แก่  สารสนเทศระยะแรกเริ่มและ
สารสนเทศระยะยาว
               7. การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ  ได้แก่  สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศ
ปรุงแต่ง
                8. การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ  ได้แก่  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียง  สารสนเทศ
ที่มีลักษณะเป็นข้อความ  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ  และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
               9. การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น  ได้แก่  สารสนเทศที่ทำประจำ  สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย  และสารสนเทศที่ได้รับหมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ   
6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ  ข้อมูล
7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)
8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น  ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)
9.ผลของการลงทะเบียนเป็น ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)
10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSectionวันอังคารเป็น

ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)

..............................................................................................................................................................

แบบฝึกหัด
บทที่ 2  บทบาทสารสนเทศกับสังคม                                                กลุ่มเรียน.....1............
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                         รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล นางสาว  นิรันตรี  สวัสดิ์ผล.รหัส  56010710109

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่าง ๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
1.1  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
1.2  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
http://www.moc.go.th
1.3  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
http://www.seedmcot.com
1.4  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
http://www.korachindustry.co.th/
http://www.ats.or.th/
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
http://www.sh.mahidol.ac.th/
1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
http://hopes.glo.or.th
1.7  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
http://www.coe.or.th/
1.8  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่าง ๆ
http://www.nep.go.th
2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
1.การใช้ระบบสื่อสารสนเทศในสำนักวิทยาบริการ
2.การลงทะเบียน โดยที่ไม่ต้องเข้าไปในมหาวิทยาลัยให้ยุ่งยาก
3.การจัดตารางเรียน  โดยที่ไม่ต้องเข้าไปในมหาวิทยาลัยให้ยุ่งยาก
3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
ใช้พัฒนาให้ตนเองมีความสะดวกในการศึกษาในสาขาที่นิสิตเรียนมากขึ้น และนำไปปรับเวลาเรียนในแต่ละวิชา

...........................................................................................................................................................................................
แบบฝึกหัด
บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ                                                           กลุ่มเรียน......1...........
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล. นางสาว  นิรันตรี  สัสดิ์ผล .รหัส  56010710109
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ
2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ก.  โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ค. 5-4-1-2-3             

 ...........................................................................................................................................................................................

แบบฝึกหัด
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                      กลุ่มเรียน......1...........
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล. นิรันตรี  สวัสดิ์ผล .รหัส.56010710109
คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
 - i-pad    - มือถือ – เครื่องบันทึกเสียง               
2)      การแสดงผล
-เครื่องปริ้น  - ลำโพง  -วิทยุ
3)      การประมวลผล
-ซีพียู (CPU)  -เมนบอร์ด (Mainboard)   -

                             
4)      การสื่อสารและเครือข่าย

2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
…… ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
…… Information Technology
2. e-Revenue
…… คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
……เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และ Decoder
……ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย

…… ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
…… การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
…… EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
…… การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
……บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

 ...........................................................................................................................................................................................

 แบบฝึกหัด
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                      กลุ่มเรียน......1...........
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล. นิรันตรี  สวัสดิ์ผล .รหัส.56010710109
คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
 - i-pad    - มือถือ – เครื่องบันทึกเสียง               
2)      การแสดงผล
-เครื่องปริ้น  - ลำโพง  -วิทยุ
3)      การประมวลผล
-ซีพียู (CPU)  -เมนบอร์ด (Mainboard)   -ชิป (Chip)                        
4)      การสื่อสารและเครือข่าย
-ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater)   -สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge)  -เร้าเตอร์ (Router)
2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
…8… ซอฟต์แวร์ประยุกต์
…3… Information Technology
…1… คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
…4…เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
…10…ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงาน
…7… ซอฟต์แวร์ระบบ
…9… การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
…5… EDI
…6… การสื่อสารโทรคมนาคม
…2…บริการชำระภาษีออนไลน์

...........................................................................................................................................................................................


แบบฝึกหัด
บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ                                                     กลุ่มเรียน.....1............
รายวิชา  การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                         รหัสวิชา  0026008
ชื่อ-สกุล  นางสาว  นิรันตรี  สวัสดิ์ผล รหัส 56010710109
คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.       จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ(Information Management)
      เป็นการดำเนินการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำสารสนเทศ มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายๆ คน มุ่งเน้นที่จะเก็บรวบรวม ประมวลผล และเผยแพร่ข้อมูล โดยมีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบาลและแนวปฏิบัติ บุคลากรหรือผู้ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการจัดการ การจัดการสารสนเทศสามารถดำเนินการได้ 3 ขั้นตอน คือ การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษาข้อมูล
2.       การจัดการสารสนเทศมีความสําคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ ความสำคัญในด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการการจัดเก็บสารสนเทศที่ เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตัว ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา
3.       พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ
การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
4.       จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

-การสื่อสารทางไกล ด้วยระบบ Internet   - การค้นหาข้อมูล ซึ่งมีความรวดเร็ว - การติดตามข่าวสาร
...........................................................................................................................................................................................


แบบฝึกหัด
บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน กลุ่มที่เรียน................1.....................
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ-สกุล. นางสาว  นิรันตรี  สัสดิ์ผล .รหัส  56010710109
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    2. เทศโนโลยี
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
   2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
   1. ระบบอัตโนมัติ
4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   4. ถูกทุกข้อ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
      3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
   4. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
   4. โทรทัศน์ วิทยุ
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?

4. ถูกทุกข้อ
...........................................................................................................................................................................................
แบบฝึกหัด
บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน..........1...........................
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ-สกุล. นางสาว  นิรันตรี  สัสดิ์ผล .รหัส  56010710109
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ ไฟร์วอลล์ (อังกฤษ: firewall; ศัพท์บัญญัติ ด่านกันบุกรุก) คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm , virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
Virus = แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมั นเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆไ ด้ต้องอาศัยไฟล์พาหะ สิ่งที่มันทำคือสร้างความเสียหายให้กับไฟล์
Worm = คัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื ่องอื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมลล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื่อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครื อข่าย
 Spyware = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองห รืออาศัยช่องโหว่ของ web browser ในการติดตั้งตัวเองลงในเครื่องเหยื่อ สิ่งที่มันทำคือรบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ ใช้
Adware แอดแวร์... เป็นศัพท์เทคนิคมาจากคำว่า Advertising Supported Software แปลเป็นไทยได้ว่า "โปรแกรมสนับสนุนโฆษณา" โดยทางบริษัทต่าง ๆ จะพยายามโฆษณาสินค้าของตนเอง เพื่อที่จะได้ขายสินค้านั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราลองไปดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีตามเว็ปต่าง ๆ เราก็จะเห็นโฆษณาสินค้าปรากฏขึ้นมาบ่อย ๆ ถ้าเราอยากให้โฆษณานั้นหายไป ก็ต้องจ่ายตังค์ค่าลิขสิทธิ์ เพื่อไม่ให้มีโฆษณาขึ้นมากวนใจอีกต่อไป

3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ไวรัสตามวิธีการติดต่อ
 ม้าโทรจัน ม้าโทรจัน (Trojan Horse)   เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมา ให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรม พร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบาย การใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจัน อาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์ เพื่อที่จะล้วงเอาความลับ ของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่า ไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดดๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่น เพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้น และนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

 โพลีมอร์ฟิกไวรัส Polymorphic Viruses   เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัส ที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้ เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัส ที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้ เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
 สทีลต์ไวรัส Stealth Viruses   เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถ ในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใด แล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตาม เพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
2. ไวรัสตามลักษณะการทำงาน
 ไฟล์ไวรัส File Viruses   คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในแฟ้มข้อมูล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแฟ้มข้อมูลแบบ Executite ได้แก่ไฟล์ประเภท .EXE .COM .DLL เป็นต้น การทำงานของไวรัสคือจะไปติดบริเวณ ท้ายแฟ้มข้อมูล แต่จะมีการเขียนคำสั่งให้ไปทำงานที่ตัวไวรัสก่อน เสมอ เมื่อมีการ เปิดใช้แฟ้มข้อมูล ที่ติดไวรัส คอมพิวเตอร์ก็จะถูกสั่งให้ไปทำงานบริเวณ ส่วนที่เป็นไวรัสก่อน แล้วไวรัสก็จะฝังตัวเองอยู่ในหน่วยความจำเพื่อ ติดไปยังแฟ้มอื่นๆ ต่อไป
 บูตเซกเตอร์ไวรัส Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses  คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การทำงานก็คือ เมื่อเราเปิดเครื่อง เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง ถ้าหากว่าบูตเซกเตอร์ ได้ติดไวรัส โปรแกรมที่เป็นไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย โปรแกรมไวรัสก็จะโหลดเข้าไปในเครื่อง และจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไวรัสประเภทนี้ มักจะติดกับแฟ้มข้อมูลด้วยเสมอ

3. ไวรัสตามลักษณะแฟ้มที่ติดไวรัส
 มาโครไวรัส Macro Viruses    เป็นไวรัสรูปแบบหนึ่งที่ พบเห็นได้มากที่สุด และระบาดมาที่สุดในปัจจุบัน (เมษายน 2545) ซึ่งการทำงานจะอาศัยความสามารถ ในการใช้งานของ ภาษาวิชวลเบสิก ที่มีใน Microsoft Word ไวรัสชนิดนี้จะติดเฉพาะไฟล์เอกสารของ Word ซึ่งจะฝังตัวในแฟ้ม นามสกุล .doc .dot การทำงานของไวรัส จะทำการคัดลอกตัวเองไปยังไฟล์อื่นๆ ก่อให้เกิดความรำคาญในการทำงาน เช่นอาจจะทำให้เครื่องช้าลง ทำให้พิมพ์ของทางเครื่องพิมพ์ไม่ได้ หรือทำให้เครื่องหยุดการทำงานโดยไม่มีสาเหตุ
 โปรแกรมไวรัส Program Viruses หรือ File Intector Viruses   เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง ที่จะติดกับไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ใน โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้ เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเอง เข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยน และยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม

     การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อน และจะถือโอกาสนี้ ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไปาง

4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
1).ควรติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด  เพราะจะทำให้สามารถดักจับและจัดการกับไวรัสตัวใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

   2). อย่าตั้งค่าให้โปรแกรมอีเมลเปิดไฟล์ที่แนบมาโดยอัตโนมัติ ควรจะต้องตรวจสอบก่อนดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ขึ้นมา

   3). สแกนไฟล์แนบท้ายของอีเมลทุกฉบับ หรือแม้แต่อีเมลจากคนรู้จัก

   4). ตั้งค่าระบบป้องกันให้ทำงานทันทีที่เริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ใช้งาน 

   5). อัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรอัพเดททุกครั้งที่ออนไลน์ เพราะจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน
5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่
1.มาตรการทางการบริหาร หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง
2.มาตรการทางกฎหมายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน การบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ
3.มาตรการทางการ ควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง
4.มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน
5.มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา
6.มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม


 ...........................................................................................................................................................................................
แบบฝึกหัด
บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม กลุ่มที่เรียน..........1...........................
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ-สกุล  นางสาว  นิรันตรี  สวัสดิ์ผล รหัส 56010710109
คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
1) นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่ เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลองการกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมาย ใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ  ผิด เพราะโปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดลองวิจัยเท่านั้น ไม่ได้มีการเผยแพร่ให้ใช้งานจริง ขณะเดียวกันคนที่นำไปใช้คือนาย B ซึ่งไม่ได้รับการเห็นชอบของนาย A ผู้พัฒนา โดยนำไปแกล้งนางสาว C ความผิดนี้ ถือเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาและการนำโปรแกรมในการทดลองไปใช้จริง และ นางสาว C รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ถือว่ามีความผิดจริยธรรมเพราะการสร้างโปรแกรมขึ้นมาแล้วใช้แกล้งคนอื่นโดยไม่เกิดประโยชน์และทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายก่อกวนระบบ ที่เผยแพร่โปรแกรมทดลองนี้ต่อไปอีก เป็นการกระจายโปรแกรมออกไปอีก
2) นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียน ในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การ กระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

ตอบ  นาย J ผิดจริยธรรมตรงที่ทำข้อมูลเท็จหลอกลวงผู้อื่น เป็นการกระทำที่ขาดการไตร่ตรองไม่นึกถึงผลที่ตามมา ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กชาย K ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่ได้มีการวิเคราะห์สารที่ได้รับมาก่อน ทำให้ทำงานส่งครูไปแบบผิดๆ การกระทำนี้จึงผิดทั้งสองคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น